ราชนาวีสโมสร
📍สโมสรของชาวนาวี ราชนาวีสโมสร ตั้งสง่างามอยู่ริมแม่นํ้าเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกมากว่าครึ่งศตวรรษเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ เชื่อมความสามัคคี รวมถึงการจัดงานเฉลิมฉลองในโอกาสพิเศษ ๆ ได้อย่างสมเกียรติ
แต่เดิม กองทัพเรือยังไม่มีสถานที่ไว้พบปะสังสรรค์สำ หรับนายทหาร และข้าราชการกองทัพเรือ เมื่อจะจัดงานก็ต้องใช้สถานที่ของราชนาวิกสภาซึ่งเป็นสถาบันศึกษา ไม่กว้างขวางพอจะรองรับนายทหารและข้าราชการทั้งหมด ได้ทางราชการจึงได้พิจารณาหาสถานที่ก่อสร้างเป็น สโมสรสถานโดยเฉพาะขึ้นใหม่ และมุ่งให้อยู่ฝั่งพระนคร และได้พื้นที่ ๆ เหมาะสมตรงสุดสนามด้านทิศเหนือของ พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ริมแม่นํ้าเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก พื้นที่ฝั่งหนึ่งจรดถนนหน้าพระลาน พื้นที่อีกฝั่งจรดถนน ราชวรดิตถ์ และอีกฝั่งหนึ่งจรดท่าช้างวังหลัง เขตพระนคร
เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๙ กองทัพเรือ ได้ออกระเบียบกองทัพเรือ ที่ ๗๙ ว่าด้วย ราชนาวีสโมสร ให้ราชนาวีสโมสร เป็นแหล่งสมาคมของข้าราชการ กองทัพเรือ มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมความสามัคคี เป็นที่พบปะ สนทนาปราศรัย การกีฬา การบันเทิง และเพื่อเกื้อกูลในทางที่ดี ที่ชอบ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้น มาจึงได้ถือเอา วันที่ ๑๐ มกราคม ของทุกปีเป็น วันสถาปนาราชนาวีสโมสร
ราชนาวีสโมสรแต่เดิมเป็นส่วนราชการรวมอยู่ กับราชนาวิกสภา ซึ่งในขณะนั้นขึ้นตรงกับกรมเสนาธิการ ทหารเรือ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๖ ได้มีพระราชกฤษฎีกา จัดวางระเบียบราชการกองทัพเรือในกระทรวงกลาโหมและมีคำสั่งกองทัพเรือให้แยกส่วนราชการต่าง ๆ ของ ราชนาวิกสภาไปขึ้นอยู่กับ กรมสวัสดิการทหารเรือ รวมถึงให้ราชนาวีสโมสรอยู่ในความดูแลของ กองกิจการสโมสร กรมสวัสดิการทหารเรือ และใช้ระบบ เลือกตั้งผู้บริหาร ซึ่งประกอบไปด้วยนายกกรรมการ ราชนาวีสโมสร ๑ ตำ แหน่ง และรองนายกกรรมการ ราชนาวีสโมสร ๑ ตำแหน่ง เนื่องจากระเบียบสำ นักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ จัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ.๒๕๓๐
กองทัพเรือ จึงมีความเห็นยกเลิกระบบเลือกตั้งนายกกรรมการฯ และรองนายกกรรมการราชนาวีสโมสร ปรับปรุงการ ดำเนินงาน โดยให้ราชนาวีสโมสรเป็นส่วนหนึ่งของกิจการสวัสดิการภายในกองทัพเรือ มีผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานกรรมการฯ โดยตำแหน่ง เพื่อให้สอดคล้อง กับระเบียบสำ นักนายกรัฐมนตรีฯ ดังกล่าว ซึ่งทำ ให้ การบริหารงานราชนาวีสโมสรเปลี่ยนไปเป็นระบบแต่งตั้ง มีคณะกรรมการราชนาวีสโมสรมาจากการแต่งตั้ง มีผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานกรรมการ ราชนาวีสโมสรโดยตำแหน่ง เพื่อให้มีผู้บังคับบัญชาชั้นสูง รับผิดชอบงานโดยต่อเนื่อง
ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ประธานกรรมการ กิจการราชนาวีสโมสร ได้เสนอขออนุมัติปรับโครงสร้าง กิจการราชนาวีสโมสรจากเดิมมาเป็นโครงสร้างใหม่ ดังนี้
๑. ส่วนบริหาร ประกอบด้วยคณะกรรมการบริหาร กิจการราชนาวีสโมสร สำ นักงานคณะกรรมการบริหาร (ตั้งใหม่) มีผู้จัดการกิจการราชนาวีสโมสรเป็นหัวหน้า สำ นักงาน (คัดสรรจากสมาชิกสามัญชั้นยศ พลเรือตรี มาปฏิบัติงานคราวละ ๑ ปี ) และอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ
๒. ส่วนปฏิบัติการ ประกอบด้วย สำ นักงานกิจการ ราชนาวีสโมสร ฝ่ายสโมสร ฝ่ายพัสดุ และฝ่ายสนับสนุน และจราจร โดยรับสมัครกำลังพลจากหน่วยต่าง ๆ มาช่วยปฏิบัติราชการ
ห้องจัดเลี้ยงที่เปิดให้ใช้บริการ
ราชนาวีสโมสรมีห้องจัดเลี้ยงสามารถรองรับผู้ร่วม งานตั้งแต่จำนวน ๑๐๐ ท่าน จนถึง ๕๐๐ ท่าน สำหรับข้าราชการทหารเรือใช้จัดงานสำคัญต่าง ๆ ทั้ง งานส่วนตัว และงานของหน่วยงาน ประกอบด้วย
๑. ห้องสินธูทัศนา ๒ รองรับผู้ร่วมงานได้ ๕๐ ท่าน
๒. ห้องหรรษานาวี รองรับผู้ร่วมงานได้ ๒๐๐ ท่าน
๓. ห้องสินธูทัศนา ๓ รองรับผู้ร่วมงานได้ ๑๒๐ ท่าน
๔. ห้องเกียรตินาวี – ศรีนาวา รองรับผู้ร่วมงานได้ ๕๐๐ ท่าน
นอกจากห้องจัดเลี้ยงดังกล่าวแล้ว ราชนาวีสโมสรยังมีร้านอาหารสวัสดิการ ห้องพันธุ์ประดู่ และ ห้องสินธูทัศนา ๑ ที่เปิดให้บริการอาหารตามสั่งแก่ ข้าราชการทหารเรือ และยังเปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถมาใช้บริการได้ทุกวัน โดยมีทั้งส่วนที่เป็นห้องปรับอากาศ และห้องริมนํ้า ส่วนห้องสินธูทัศนา ๒ เปิดให้บริการอาหารตามสั่งสำหรับข้าราชการทหารเรือ ชั้นสัญญาบัตรทั้งนอกและในราชการ
ราชนาวีสโมสร มีส่วนลดพิเศษสำหรับหน่วยงาน และข้าราชการกองทัพเรือ ติดต่อสอบถามที่ ฝ่ายการตลาด โทร. ๐๒-๔๗๕-๕๔๑๑
ประวัติรุกขเทวดาศาลวิชัยมงคลพฤกษเทวบุตรและกนิษฐชัยมงคลพฤกษเทวบุตร
รุกขเทวดาหรือพฤกษเทพทั้ง ๒ องค์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในศาลของกรมสวัสดิการทหารเรือมีความเป็นมาดังนี้ คือ เมื่ออาคารกรมสวัสดิการทหารเรืออันได้สร้างตั้งอยู่ ณ บริเวณท่าช้างวังหลวง และสนามด้านเหนือของพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยหรือท่าราชวรดิษฐ์จำต้องขยายตัวอาคารมาทางด้านทิศใต้ และในส่วนของทิศนี้มีต้นไทรใหญ่อายุหลายชั่วฅนกีดขวางอยู่ ถ้าไม่ตัดแล้วก็จะปลูกสร้างขยายตัวอาคารไม่ได้ ท่านเจ้ากรมสวัสดิการทหารเรือสมัยนั้น คือ พลเรือตรี หลวงเจียรกลการ จึงได้นำความประสงค์นี้ไป ปรึกษาและขอทราบผลจากท่านนายแพทย์ใหญ่ทหารเรือ คือ พลเรือจัตวา หลวงสุวิชานแพทย์ ผู้ทรงคุณวุฒิทางจิตศาสตร์ ท่านผู้นี้ได้ใช้จิตศาสตร์ตรวจดูก็ทราบได้ว่า ต้นไทรนี้มีรุกขเทวดาสิงสถิตอยู่ถึง ๒ องค์ เป็นพี่น้องกัน และทราบถึงเทวเจตนาของรุกขเทพว่าไม่ขัดข้องในการตัดต้นไทร
แต่มีเทวจำนงให้สร้างศาลขึ้นประทับแทน ตามเทพประสงค์นี้ ท่านเจ้ากรมสวัสดิการทหารเรือได้ถวายความสอดคล้องตามเทพโองการ แต่พฤติการณ์เรื่องสร้างศาลกวาจะสำเร็จต้องกินเวลานาน ส่วนการตัดต้นไม้ต้องการีบด่วน ท่านเจ้ากรมสวัสดิการทหารเรือจึงได้นำเจตน์จำนงนี้ไปหารือนายแพทย์ใหญ่ทหารเรืออีกครั้งหนึ่ง ก็ทราบเทวบัญชาจากจิตศาสตร์ของนายแพทย์ใหญ่ทหารเรือว่าให้สร้างเทวรูปขึ้น แล้วเชิญสิงสถิตและเชิญขึ้นประทับชั่วคราวบนกรมสวัสดิการทหารเรือเสียก่อน จึงตัดต้นไทรได้ พิธีกรรมตามเทวประสงค์จึงได้ประกอบขึ้นเมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗ เวลา ๐๗.๐๐ น. และการตัดต้นไทรได้กระทำลงเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗
เมื่อศาลได้สร้างสำเร็จเรียบร้อยแล้วจึงได้เชิญเทวรูปทั้งสององค์จากห้องชั้นสามของกรมสวัสดิการทหารเรือมาประทับประดิษฐาน ณ ศาลนี้ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. และประกอบพิธีบวงสรวงด้วยเครื่องสังเวยอย่างละคู่ครบกระบวนการแบบพิธีทุกประการพรั่งพร้อมด้วยข้าราชการทหารเรือทั้งชั้นสัญญาบัตร และต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตรในกรมสวัสดิการทหารเรือ มีพลเรือตรี หลวงเจียรกลการ อดีตเจ้ากรมสวัสดิการทหารเรือและพลเรือจัตวาสวัสดิ์ คงสิริ เจ้ากรมสวัสดิการทหารเรือ แห่ห้อมล้อมเชิญเทวรูปมาสู่ศาลและต่างถวายเครื่องสักการะบวงสรวงพร้อมกัน ในพิธีบวงสรวงสังเวยเชิญขึ้นประทับศาลนี้ ว่าที่เรือเอก สวัสดิ์ พัฒนเกิดผล เป็นผู้ประกอบพิธี
อนึ่ง ความอัศจรรย์ในเทพฤทธิ์ดังปรากฏมีหลายคราว เช่น ครั้งหนึ่ง เมื่อกำลังสร้างศาลยังไม่เสร็จและอยู่ในลักษณะล่าช้า ทั้งในที่ประทับชั่วคราวบนกรมสวัสดิการทหารเรือได้มีผู้มาฝึกหัดละครอึกทึกครึกโครม เทพฤทธิ์ทั้งสององค์ได้ไปปรากฏเป็นนิมิตฝันแก่พระครูศิวาจารย์ (พราหมณ์) ณ สถานที่โบสถ์พราหมณ์ ตำบลเสาชิงช้า ซึ่งได้เป็นผู้บวงสรวงสังเวยและประกอบพิธีกรรมเชิญสิงสถิตเทวรูปและเชิญประทับชั่วคราว บนกรมสวัสดิการทหารเรือตลอดจนทำพิธีตัดต้นไทร ในนิมิตนั้นได้ปรากฏองค์และมีเทวดำรัสว่า #จะให้อยู่กันอย่างนี้หรือหนวกหูออก #เขาหัดละครกันที่นั้น ทั้งๆที่พระครูศิวาจารย์ก็ไม่ทราบความจริงเช่นนี้มาเลย
ต่อมาพระครูศิวาจารย์ได้มาเล่าถึงเทพนิมิตและเทวดำรัสความจึงปรากฏว่าเป็นความจริงดังนั้น อึกครั้งหนึ่งใน ระยะเวลากาลต่อมา ศาลซึ่งกำลังสร้างอยู่ในขณะนั้นค่อนข้างล่าช้ามาก รุกขเทพทั้งสองก็ได้แสดงให้ปรากฏแก่ พลเรือตรีหลวงเจียรกลการ โดยให้มีอาการปวดยอกในส่วนหัวไหล่ข้างซ้ายและปวดศีรษะแม้จะรักษาอย่างใด ๆ ก็ไม่หาย จึงได้มาขอความเห็นจาก พลเรือจัตวาหลวงสุวิชานแพทย์ นายแพทย์ใหญ่ทหารเรือ ผู้มีญาณทางจิตศาสตร์ ท่านนายแพทย์ใหญ่ทหารเรือจึงใช้วิชาจิตศาสตร์ตรวจดูก็ทราบได้ว่า อาการนี้เป็นเพราะฤทธิ์ทั้งสององค์ ต้องเร่งก่อสร้างศาลให้ลุล่วงแต่โดยเร็วอาการป่วยก็จะหาย
พลเรือตรีหลวงเจียรกลการ ได้ทราบแล้วจึงได้ปฏิบัติการตามนัยนั้น อาการป่วยก็เริ่มบรรเทาและหายลงสนิท เมื่อได้เชิญเทวรูปขึ้นสูศาลเรียบร้อย อีกประการหนึ่งคือ ทรวดทรงเทวรูปเครื่องทรงเทวลังการและศาลก็ได้จัดทำขึ้นตามเทวประสงค์ ดังปรากฏในจิตศาสตร์ของพลเรือจัตวาหลวงสุวิชานแพทย์ทุกประการ ในการสร้างศาลรุกขเทพนี้ ท่านผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอกหลวงยุทธศาสตร์โกศล เมื่อได้ทราบเทพเจตนาจาก พลเรือตรีหลวงเจียรกลการ เรียนปฏิบัติแล้ว ก็ได้เห็นชอบและมีความกรุณาสนับสนุนอนุมัติให้ดำเนินการได้ กรมโยธาเทศบาลเป็นผู้รับไปจัดสร้าง เป็นราคา ๗๕,๐๐๐.๐๐ บาท จากวงเงินงบประมาณของกองทัพเรือ
รุกขเทวดาทั้งสององค์นี้ เมื่อบวงสรวงสังเวยเชิญขึ้นสู่ศาลได้ใช้นามประกอบบทสังเวยองค์พี่ใช้นามว่า #เชษฐชัยมงคลพฤกษเทวบุตร องค์น้องใช้นามว่า #กนิษฐชัยมงคลพฤกษเทวบุตร